***ขอขอบคุณที่เข้ามารับชมค่ะ***

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อันตราย!!! พลุและดอกไม้ไฟ

เวลามีเทศกาลเฉลิมฉลองต่างๆ เช่น วันลอยกระทง พิธีปิดงานกีฬาใหญ่ๆ ฯลฯ เราจะได้เห็นการจุดพลุสีสวยงานในท้องฟ้าพร้อมเสียงดังโป้งป้าง แน่นอนในพลุและดอกไม้ไฟต้องมีสารที่เป็นวัตถุระเบิด ที่เราควรจะทำความเข้าใจถึงอันตรายของมัน การผลิตพลุและดอกไม้ไฟต้องอาศัยทักษะความชำนาญและประสบการณ์เพราะขณะผลิตก็ ระเบิดได้ ไม่ใช่ใครก็สามารถผลิตได้ ซึ่งเรามักได้ยินข่าวการระเบิดการการทำพลุช่วงใกล้เทศกาลเหล่านั้นประจำ



           

ส่วนประกอบพื้นฐานของพลุและดอกไม้ไฟคือ ตัวออกซิไดซ์ เชื้อเพลิง และสารที่ทำให้สีสันต่างๆในอัตราส่วนต่างๆกัน เพื่อบังคับให้เกิดการลุกไหม้คงที่และให้พลังงานคงที่ โดยผสมตัวออกซิไซด์ เช่น ดินประสิว (โปแตสเซียมไนเตรท) แอมโมเนียมคลอเรต หรือโปแตสเซียมคลอเรต กับเชื้อเพลิง เช่นขี้เลื่อย ชั้นถัดไปจะเป็นส่วนประสมของดินปืนและสารที่ทำให้เกิดสี พร้อมทั้งใส่สายชนวนสำหรบจุดอยู่ที่ปลาย สารที่ทำให้เกิดสีส่วนมากคือสารจำพวกโลหะอนินทรีย์ เช่น แบเรียมคลอเนตจะให้สีเขียว คอปเปอร์คาร์บอเนตจะให้แสงสีน้ำเงิน กำมะถันให้แสงสีขาว เป็นต้น ดินปืนเป็นตัวขับดันที่บริเวณส่วนล่างของพลุ แสงสีสวยงานอาจทำให้เราเพลิดเพลิน แต่ก็มีภัยแอบแฝง สำหรับผู้ชมถ้ามีโอกาสได้รับสารโลหะในรูปของควันพิษและไอระเหยเข้าสู่ร่าง กายได้ ความจริงแล้วถ้าคำนึงถึงผลกระทบต่อคุณภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมแล้ว น่าจะคิดให้ดีว่าเราได้อะไรขึ้นมาจากการจ่ายค่าซื้อพลุมาจุดเล่นด้วยงบ ประมาณเป็นแสนล้านบาท


ขอขอบคุณข้อมูลโดยคุณ รศ.สุชาตา ชินะจิตร

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.chemtrack.org/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น