***ขอขอบคุณที่เข้ามารับชมค่ะ***

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ข้อควรปฏิบัติในการใช้สารเคมี

1. ระวังการสัมผัสกับสารเคมี ใช้เสื้อคลุมหรือเสื้อกันเปื้อน ถุงมือ
2. การใช้สารเคมีที่มีพิษ ต่อสุขภาพโดยการหายใจ ต้องทำในตู้ดูดควันเท่านั้น
3. การปิเปต (pipett) น้ำยาไม่ควรใช้ปากดูด แต่ให้ใช้ลูกยาง ขนาดเหมาะสมสวมที่ pipett
4. ปิดฉลากสารเคมี และน้ำยาเคมีทุกครั้ง ตรวจฉลากและเปลี่ยน เมื่อฉีกขาดหรือลบเลือนทันที น้ำยาบางชนิด ต้องเก็บในตู้เย็น ฉลากอาจเปียก หลุดง่าย ปัจจุบันมีฉลาก ที่พัฒนาให้คงทน
5. อ่านฉลากก่อนหยิบ และเมื่อใช้แล้วทุกครั้ง เพื่อป้องกันการหยิบผิด และควรเทสารเคมีตรงข้ามฉลากเสมอ
6. ไม่วางสารเคมีที่เกิดปฏิกิริยา ระหว่างกันได้ง่าย ไว้ใกล้ชิดกัน
7. ไม่ใช้สารเคมีมากกว่าที่กำหนด การแบ่งสารเคมี มาใช้ต้องประมาณให้ดี ถ้าใช้เหลือไม่ควรเทคืนในขวด
8. การเจือจางสารควรเทกรดเข้มข้นลงน้ำ หรือลงสู่น้ำยา ที่เจือจางน้อยกว่าเสมอ ควรสวมแว่นและทำให้ตู้ดูดควัน
9. ไม่แช่อาหารในตู้เย็น ที่เก็บสารเคมี โดยเฉพาะน้ำยา หรือสารพิษมาตรฐาน เช่น ยาฆ่าแมลง อะฟลาท็อกซิน สารตัวทำละลาย (solvent) เป็นต้น
10. สารพิษที่เป็นสารมาตรฐาน (มีความบริสุทธิ์สูงเกือบ100%) ต้องเก็บในที่มิดชิด รวมทั้งสารก่อมะเร็ง ใส่ตู้เก็บแยกต่างหาก มีข้อความ "สารพิษ" "สารก่อมะเร็ง" ให้เห็นชัดเจน
ที่มา : สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่่ http://www.deqp.go.th/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น