***ขอขอบคุณที่เข้ามารับชมค่ะ***

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ข้อควรปฏิบัติในการใช้สารเคมี

1. ระวังการสัมผัสกับสารเคมี ใช้เสื้อคลุมหรือเสื้อกันเปื้อน ถุงมือ
2. การใช้สารเคมีที่มีพิษ ต่อสุขภาพโดยการหายใจ ต้องทำในตู้ดูดควันเท่านั้น
3. การปิเปต (pipett) น้ำยาไม่ควรใช้ปากดูด แต่ให้ใช้ลูกยาง ขนาดเหมาะสมสวมที่ pipett
4. ปิดฉลากสารเคมี และน้ำยาเคมีทุกครั้ง ตรวจฉลากและเปลี่ยน เมื่อฉีกขาดหรือลบเลือนทันที น้ำยาบางชนิด ต้องเก็บในตู้เย็น ฉลากอาจเปียก หลุดง่าย ปัจจุบันมีฉลาก ที่พัฒนาให้คงทน
5. อ่านฉลากก่อนหยิบ และเมื่อใช้แล้วทุกครั้ง เพื่อป้องกันการหยิบผิด และควรเทสารเคมีตรงข้ามฉลากเสมอ
6. ไม่วางสารเคมีที่เกิดปฏิกิริยา ระหว่างกันได้ง่าย ไว้ใกล้ชิดกัน
7. ไม่ใช้สารเคมีมากกว่าที่กำหนด การแบ่งสารเคมี มาใช้ต้องประมาณให้ดี ถ้าใช้เหลือไม่ควรเทคืนในขวด
8. การเจือจางสารควรเทกรดเข้มข้นลงน้ำ หรือลงสู่น้ำยา ที่เจือจางน้อยกว่าเสมอ ควรสวมแว่นและทำให้ตู้ดูดควัน
9. ไม่แช่อาหารในตู้เย็น ที่เก็บสารเคมี โดยเฉพาะน้ำยา หรือสารพิษมาตรฐาน เช่น ยาฆ่าแมลง อะฟลาท็อกซิน สารตัวทำละลาย (solvent) เป็นต้น
10. สารพิษที่เป็นสารมาตรฐาน (มีความบริสุทธิ์สูงเกือบ100%) ต้องเก็บในที่มิดชิด รวมทั้งสารก่อมะเร็ง ใส่ตู้เก็บแยกต่างหาก มีข้อความ "สารพิษ" "สารก่อมะเร็ง" ให้เห็นชัดเจน
ที่มา : สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่่ http://www.deqp.go.th/

อันตราย!!! พลุและดอกไม้ไฟ

เวลามีเทศกาลเฉลิมฉลองต่างๆ เช่น วันลอยกระทง พิธีปิดงานกีฬาใหญ่ๆ ฯลฯ เราจะได้เห็นการจุดพลุสีสวยงานในท้องฟ้าพร้อมเสียงดังโป้งป้าง แน่นอนในพลุและดอกไม้ไฟต้องมีสารที่เป็นวัตถุระเบิด ที่เราควรจะทำความเข้าใจถึงอันตรายของมัน การผลิตพลุและดอกไม้ไฟต้องอาศัยทักษะความชำนาญและประสบการณ์เพราะขณะผลิตก็ ระเบิดได้ ไม่ใช่ใครก็สามารถผลิตได้ ซึ่งเรามักได้ยินข่าวการระเบิดการการทำพลุช่วงใกล้เทศกาลเหล่านั้นประจำ



           

ส่วนประกอบพื้นฐานของพลุและดอกไม้ไฟคือ ตัวออกซิไดซ์ เชื้อเพลิง และสารที่ทำให้สีสันต่างๆในอัตราส่วนต่างๆกัน เพื่อบังคับให้เกิดการลุกไหม้คงที่และให้พลังงานคงที่ โดยผสมตัวออกซิไซด์ เช่น ดินประสิว (โปแตสเซียมไนเตรท) แอมโมเนียมคลอเรต หรือโปแตสเซียมคลอเรต กับเชื้อเพลิง เช่นขี้เลื่อย ชั้นถัดไปจะเป็นส่วนประสมของดินปืนและสารที่ทำให้เกิดสี พร้อมทั้งใส่สายชนวนสำหรบจุดอยู่ที่ปลาย สารที่ทำให้เกิดสีส่วนมากคือสารจำพวกโลหะอนินทรีย์ เช่น แบเรียมคลอเนตจะให้สีเขียว คอปเปอร์คาร์บอเนตจะให้แสงสีน้ำเงิน กำมะถันให้แสงสีขาว เป็นต้น ดินปืนเป็นตัวขับดันที่บริเวณส่วนล่างของพลุ แสงสีสวยงานอาจทำให้เราเพลิดเพลิน แต่ก็มีภัยแอบแฝง สำหรับผู้ชมถ้ามีโอกาสได้รับสารโลหะในรูปของควันพิษและไอระเหยเข้าสู่ร่าง กายได้ ความจริงแล้วถ้าคำนึงถึงผลกระทบต่อคุณภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมแล้ว น่าจะคิดให้ดีว่าเราได้อะไรขึ้นมาจากการจ่ายค่าซื้อพลุมาจุดเล่นด้วยงบ ประมาณเป็นแสนล้านบาท


ขอขอบคุณข้อมูลโดยคุณ รศ.สุชาตา ชินะจิตร

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.chemtrack.org/

พิษภัยสารเคมีเกษตร


 


ผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกซื้ออาหารออร์แกนิค (อาหารที่ผลิตจากระบบเกษตรอินทรีย์) ก็เพราะความเป็นห่วงในเรื่องพิษภัยจากสารเคมีการเกษตรที่ตกค้างปนเปื้อนในผล ผลิตอาหารที่ผลิตจากระบบเกษตรทั่วไป  แม้ว่าหน่วยงานราชการจะได้พยายามควบคุมการผลิตอาหารให้มีความปลอดภัย โดยการออกมาตรการต่างๆ แต่เนื่องจากการควบคุมตรวจตราที่ยังมีช่องโหว่ ทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารที่วางขายอยู่ทั่วไปยังมีปัญหาการปนเปื้อนสารเคมีการ เกษตรอยู่มาก ทั้งปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สารเร่งการเจริญเติบโต หรือแม้แต่สารกันบูด และสารแต่งสี รส และกลิ่น  สารเคมีที่ใช้ในอาหารเหล่านี้มีพิษภัยอย่างไรบ้าง

 

 ชนิดของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในทางการเกษตร ที่มีการจำหน่ายทางการค้า มีกว่า 1,000 ชนิด ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ตามชนิดของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ในการควบคุมและกำจัด คือ สารเคมีกำจัดแมลง สารป้องกันกำจัดวัชพืช สารป้องกันกำจัดเชื้อรา สารกำจัดหนูและสัตว์แทะ สารเคมีกำจัดหอยและปู เป็นต้น
1. สารเคมีกำจัดแมลง
สาร เคมีกำจัดแมลงเป็นสารเคมีการเกษตรที่มีจำนวนชนิดมากที่สุด สารเคมีกำจัดแมลงแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ตามชนิดของสารเคมีได้ 4 ประเภท คือ
1.1 กลุ่มออร์กาโนคลอไรน์ ซึ่งเป็นกลุ่มของสารเคมีที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ สารเคมีกำจัดแมลงในกลุ่มนี้ที่นิยมใช้กันมาก คือ ดีดีที (DDT), ดีลดริน (dieldrin), ออลดริน (aldrin), ท็อกซาฟีน (toxaphene), คลอเดน (chlordane), ลินเดน (lindane), เอนดริน (endrin), เฮปตาครอ (heptachlor) เป็นต้น สารเคมีในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นสารเคมีที่มีพิษไม่เลือก (คือเป็นพิษต่อแมลงทุกชนิด) และค่อนข้างจะสลายตัวช้า ทำให้พบตกค้างในห่วงโซ่อาหารและสิ่งแวดล้อมได้นาน บางชนิดอาจตกค้างได้นานหลายสิบปี ปัจจุบัน ประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกจะไม่อนุญาตให้ใช้สารเคมีในกลุ่มนี้ หรือไม่ก็มีการควบคุมการใช้ ไม่อนุญาตให้ใช้อย่างเสรี เพราะผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
1.2 กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ โดยสารเคมีในกลุ่มนี้ที่รู้จักกันคือ มาลาไธออน (malathion), พาร&#12 June, 2009#3604;อาซินอน (diazinon), เฟนนิโตรไธออน (fenitrothion), พิริมิฟอสเมธิล (pirimiphos methyl), และไดคลอวอส (dichlorvos หรือ DDVP) เป็นต้น สารเคมีในกลุ่มนี้จะมีพิษรุนแรงมากกว่ากลุ่มอื่น โดยเป็นพิษทั้งกับแมลงและสัตว์อื่นๆ ทุกชนิด แต่สารในกลุ่มนี้จะย่อยสลายได้เร็วกว่ากลุ่มแรก
1.3 กลุ่มคาร์บาเมต ซึ่งมีคาร์บาริลเป็นองค์ประกอบสำคัญ โดยสารเคมีกำจัดแมลงที่รู้จักและใช้กันมาก คือ คาร์บาริว (carbaryl ที่มีชื่อการค้า Savin), คาร์โบฟุแรน (carbofura), โพรพ็อกเซอร์ (propoxur), เบนไดโอคาร์บ (bendiocarb) สารเคมีในกลุ่มคาร์บาเมตจะมีความเป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมน้อยกว่าพวก ออร์กาโนฟอสเฟต
1.4 กลุ่มสารสังเคราะห์ไพรีทอย เป็นสารเคมีกลุ่มที่สังเคราะห์ขึ้นโดยมีความสัมพันธ์ตามโครงสร้างของไพรี ทริน ซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่สกัดได้จากพืชไพรีทรัม สารเคมีในกลุ่มนี้มีความเป็นพิษต่อแมลงสูง แต่มีความเป็นพิษต่อสัตว์เลือดอุ่นต่ำ อย่างไรก็ตาม สารเคมีกลุ่มนี้มีราคาแพงจึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้ สารเคมีกำจัดแมลงในกลุ่มนี้ ได้แก่ เดลตาเมธริน (deltamethrin), เพอร์เมธริน (permethrin), เรสเมธริน (resmethrin), และไบโอเรสเมธริน (bioresmethrin) เป็นต้น
2. สารป้องกันกำจัดวัชพืช
สาร เคมีกำจัดวัชพืชแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ พวกที่มีพิษทำลายไม่เลือก กับพวกที่มีพิษเฉพาะกลุ่มวัชพืช คือ ทำลายเฉพาะวัชพืชใบกว้าง หรือวัชพืชใบแคบ สารกำจัดวัชพืชที่มีพิษทำลายไม่เลือก คือ พาราควอท (paraquat) ส่วนที่มีพิษทำลายเฉพาะ คือ พวก แอทราซิน (atrazine), 2,4-D, 2,4,5-T เป็นต้น
3. สารกำจัดเชื้อรา
มี อยู่หลายกลุ่มมาก บางชนิดมีพิษน้อย แต่บางชนิดมีพิษมาก กลุ่มสำคัญของสารกำจัดเชื้อราในการเกษตร (สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค 2546)ได้แก่
  • กลุ่ม Dimethey dithiocarbamates (Ziram, Ferbam, Thiram) มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Acetaldehyde dehydrogenase เกิด antabuse effect ในคนที่ดื่มสุราร่วมด้วย
  • กลุ่ม Ethylenebisdithiocarbamates (Maneb, Mancozeb, Zineb) กลุ่มนี้จะถูก metabolize เป็น Ethylene thiourea ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์
  • กลุ่ม Methyl mercury ดูดซึมได้ดีทางผิวหนังและมีพิษต่อระบบประสาท
  • กลุ่ม Hexachlorobenzene ยับยั้งเอนไซม์ Uroporphyrinogen decarboxylase มีพิษต่อตับ ผิวหนัง ข้อกระดูกอักเสบ
  • กลุ่ม Pentachlorophenol สัมผัสมากๆ ทำให้ไข้สูง เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว
4. สารกำจัดหนูและสัตว์แทะ (Rodenticides) 
สาร กำจัดหนูและสัตว์แทะที่นิยมใช้กัน ส่วนใหญ่เป็นสารกลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด ตัวอย่าง เช่น Warfarin หยุดยั้งการสร้างวิตามิน เค ทำให้เลือดออกตามผิวหนัง และส่วนต่างๆ ของร่างกาย เม็ดเลือดขาวต่ำ ลมพิษ ผมร่วง
 สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.greennet.or.th/article/263

หมึกล่องหน<<<การทดลองสนุกๆ

สิ่งที่ต้องใช้
  • ปากกาเก่าๆที่หมึกหมดแล้ว (หรือพู่กันเล็กๆ)
  • น้ำส้มสายชู หรือน้ำมะนาว
  • กระดาษ
  • เทียนไข
วิธีทดลอง
  • นำปากกามาจุ่มลงในน้ำส้มสายชู แล้วขียนตัวหนังสือลงในกระดาษ เขียนตัวใหญ่ๆหน่อยนะครับจะได้มองเห็นชัดๆ 
  • ทิ้งไว้จนกระดาษแห้ง
  • วิธีอ่านข้อความในจดหมายก็คือ นำไปส่องกับแสนเทียนตัวหนังสือปริศนาจะปรากฏขึ้นทันที หากกลัวไฟไหม้กระดาษก็ใช้เตารีดมารีด หรือเป่าด้วยเครื่องเป่าผมก็ได้ครับ

 


เพราะอะไรกันนะ
       
 ทำไมเวลาที่มะนาวเขียนใส่ลงในกระดาษแล้วนำไปลนไฟจะเกิดเป็นรอยไหม้สีนำตาล
เนื่องจากน้ำมะนาวที่ถูกความร้อนจะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกับออกซิเจนใน อากาศ เมื่อถูกออกซิไดซ์น้ำมะนาวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล  นอกจากน้ำมะนาวแล้วยังมีสารอีกบางชนิดที่ใช้ทำหมึกล่องหนชนิด กระตุ้นด้วยความร้อน เช่น นม น้ำส้ม น้ำแอปเปิ้ล น้ำหอมใหญ่ สารละลายน้ำตาล น้ำผึ้งเจือจาง โค้กหรือเป๊บซี่เจือจาง ไวน์ หรือแม้แต่น้ำสบู่ ลองดูนะครับ


สามารถศึกษาการทดลองอื่นๆได้ที่ http://board.postjung.com/624700.html



มองอนาคต “วัสดุคาร์บอนนาโน” ไปกับนักวิจัยญี่ปุ่น

สดุจิ๋วจากธาตุชนิดเดียวกับไส้ ดินสออย่าง “วัสดุคาร์บอนนาโน” เป็นวัสดุใหม่ที่มีอนาคตไกล และคาดว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้าจะเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำของเรามากขึ้น ด้วยคุณสมบัติไม่เล็กที่สามารถนำไปประยุกต์ได้อย่างหลากหลาย ทั้งเพิ่มความแข็งแกร่งให้วัสดุ เปลี่ยนวัสดุให้นำไฟฟ้า แม้เติมผสมวัสดุเพียงเล็กน้อย
     
       ศ.โมริโนบุ เอนโดะ (Prof.Morinobu Endo) อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญและมีชื่อเสียงด้านฟิสิกส์และนาโนเทคโนโลยี จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินชู (Shinshu University) ญี่ปุ่น ได้กล่าวถึง “วัสดุคาร์บอนนาโน” วัสดุที่วงการวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่างศึกษาวิจัยอย่างกว้างขวาง ว่า ใน ช่วง 10 ปีที่่ผ่านมา มีผลงานวิจัยเกี่ยวกับวัสดุประเภทนี้เพิ่มขึ้นทวีคูณ และวัสดุชนิดที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคือ “ท่อคาร์บอนนาโน”

       ท่อคาร์บอนนาโนนั้น เป็นวัสดุที่มีอะตอมคาร์บอนเรียงตัวเป็นท่อยาวเพียง 1 มิติ มีขนาดเล็กระดับนาโนเมตร มีน้ำหนักเบาเพราะมีความหนาแน่นต่ำ แต่มีความแข็งแรงทนทานมาก ซึ่ง ศ.เอนโดะ กล่าวว่า ปัจจุบันเทคนิค การผลิตท่อคาร์บอนนาโนที่นิยมใช้กันมาก คือ “วิธีการปลูกสารด้วยไอระเหยเคมี” ซึ่งเป็นการระเหยสารเคมีผ่านเตาร้อน แล้วแตกตัวทำปฏิกิริยากัน ก่อตัวเป็นท่อขึ้นมาจากอนุภาคนาโนของโลหะที่ใช้เป็นตัวกระตุ้นปฏิกิริยา ต่างๆ
     
       “วิธีดังกล่าวสามารถผลิตสารวัสดุคาร์บอนนาโนได้ปริมาณมาก และสามารถปรับตัวแปรต่างๆ ในกระบวนการผลิตให้วัสดุคาร์บอนนาโนได้มากมายหลายชนิด ทั้งแบบท่อชั้นเดียว ท่อสองชั้น ท่อหลายชั้น แบบแผ่นอย่างกราฟีน แบบคล้ายหัวหอม แบบท่อต่อกันคล้ายต้นไผ่ ซึ่งแต่ละชนิดจะมีสมบัติทางไฟฟ้า ความต้านทาน ความไวต่อสารเคมีที่แตกต่างกัน เพื่อให้นำไปประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสม” ศ.เอนโดะ กล่าว
     
       ทั้งนี้ การใช้งานวัสดุคาร์บอนนาโนอยู่ในระดับที่กำลังเข้าสู่การนำไปสร้างเป็น ผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์โดยสามารถประยุกต์ใช้เพื่อผลิตเป็น เซนเซอร์ตรวจวัดก๊าซพิษ วัสดุกักเก็บสารเคมีและไอออน วัสดุกักเก็บไฮโดรเจนเพื่อเป็นเซลล์เชื้อเพลิง ขั้วไฟฟ้าในแบตเตอรีลิเทียมไออน (Li-ion) วัสดุผสมในยางเพื่อเพิ่มความคงทนต่ออุณหภูมิและความดันสูง
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.manager.co.th/